วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนที่ 1
เตรียมชุดเครื่องมือให้พร้อม
ชุดเครื่องมือสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ไขควงปากแบนและไขควงแฉกขนาดกลาง ใช้ขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส ยึดการ์ดเพิ่มเติม ติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ และฮาร์ดดิสก์ ตลอดจนการปิดฝาเคส



ตัวครีบสกรู ใช้คีบน็อตใส่ในช่องเกลียวสำหรับน็อตในที่คับแคบที่ไม่สามารถใช้มือจับได้
ตัวถอดชิป ในเครื่องรุ่นเก่าตัวชิปมักจะติดตั้งอยู่ในซ็อกเก็ตในลักษณะถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งตัวถอดชิปจะช่วยได้มากแต่ในปัจจุบันชิปมักจะถูกฝังบนตัวการ์ดหรือเมนบอร์ดตั้งแต่ผลิตออกมาจากโรงงานแล้ว การถอดต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ผลิตมาโดยเฉพาะ
หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือจากการประกอบเครื่อง ไว้ใช้ในยามจำเป็น
ปากคีบ สำหรับคีบจับสกรูหรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ใช้มือที่หยิบไม่ได้
บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้สำหรับขันน็อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับแผงเหล็กของเคส เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
หัวมะเฟืองสำหรับยึดน็อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์บางประเภทที่ทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ ผู้ที่ไม่ใช่ช่างอาชีพมาแกะซ่อมเอง

ขั้นตอนที่ 2
เตรียมตัวเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ดขั้นตอนนี้เป็นขั้นเริ่มต้นสำหรับประกอบเครื่องมือ ให้ใช้ไขควงขันคลายน็อตยึดตัวเคสและเปิดฝากั้นออกมา โดยภายในเคสทุกตัวจะมีสายเพาเวอร์เครื่อง ชุดน๊อตสำหรับสำหรับประกอบเครื่อง ให้ตรวจสอบดูให้เรียบร้อยและทำตามขั้นตอนดังนี้
1.ใช้ไขควงขันคลายน๊อตด้านหลังตัวเคสเพื่อเปิดฝาด้านข้างออก

 2. ภายในเคสทุกตัวจะมีน๊อตประกอบเครื่อง สายเพาเวอร์เครื่อง และให้แกะออกมาจัดเตรียมไว้ให้พร้อม
 3.เปิดแผงเหล็กกั้นด้านข้างตัวเคสออก เพื่อเตรียมติดตั้งเมนบอร์ด
 4. แสดงให้เห็นลักษณะการง้างแผงเหล็กด้านข้าง ก่อนถอดออกมา
 5. ตัวเคสที่แกะแผงข้างออกมา พร้อมประกอบเข้ากับเมนบอร์ดแล้ว


ขั้นตอนที่ 3
ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสขั้นตอนนี้ให้แกะกล่องบรรจุเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อออกมาดู โดยทุกเมนบอร์ดจะมีต้วเมนบอร์ด สายฮาร์ดดิสก์/ฟล๊อบปี้ดิสก์ คู่มือเมนบอร์ด และแผ่นซีดีไดรว์เวอร์เมนบอร์ดมาด้วย ให้ตรวจดูความเรียบร้อยก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้คือ เมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสแล้ว ให้กำหนดจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น " " "Normal" ( เมนบอร์ดที่ซื้อมาทุกอันจะถูกกำหนดจัมเปอร์เป็น "Clear CMOS" เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมด) เพระาหากไม่กำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้อง หลังประกอบเครื่องแล้วจะบู๊ตเครื่องๆไม่ได้ สำหรับการติดตั้งเมนบอร์ดมีขั้นตอนดังนี้


1. แกะกล่องเมนบอร์ดตรวจดูคู่มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม


2. ขันแท่นรองน๊อตเข้ากับแท่นเครื่องให้ตรงกับช่องเมนบอร์ด


3.วางทาบให้ช่องเมนบอร์ดตรงกับรูแท่นรองน๊อตที่ขันยึดกับแผงเคส โดยสังเกตดูให้แท่นรองน็อตตรงกับเมนบอร์ดทุกช่อง

4. ขันน๊อตลงบนแท่นรองน๊อต เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคส

5. ให้คีมปากจิ้งจกคีบจัมเปอร์ มาใส่ไว้ตำแหน่ง "Normal"


ขั้นตอนที่ 4
ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดการติดตั้งซีพียูในปัจจุบันสะดวกกว่าแต่ก่อนมากนักเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแบบซ๊อกเก๊ตที่มีขาทั้งตัว เวลาติดตั้งกับช็อกเก็ตบนเมนบอร์ด ให้หันมุมที่มีรอยหักให้ตรงกับด้านที่มีรอยหักบนเมนบอร์ด ก็จะเสียบลงไปได้พอดี หากใส่ไมเข้าอย่าฝืนดันเข้าไปให้ถอดออกมาตรวจสอบและตรวจดูมุมหักให้ถูกต้อง ก่อนใส่กลับเข้าไปใหม่ หลังจากนั้นให้ติดตั้งพัดลมระบายความความร้อนให้กับซีพียูด้วย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


1. ง้างกระเดื่องล็อคซีพียูออกทางด้านข้างจนสุด และดันขึ้นเพื่อเตรียมใส่ซีพียู

2. เสียบใส่ซีพียูเข้ากับซ็อกเก็ตโดยดันเข้าไปตรงๆ ให้ด้านที่มีรอยหักของซีพียูตรงกับรอยหักซ้อกเก็ต
3. ดันแขนกระเดื่องกลับลงมาล็อคกับช็อกเก็ตเหมือนเดิม


4. ใช้ไขควงเกี่ยวแขนล็อคพัดลมยึดกับหูล็อคบนช็อกเก็ตบนเมนบอร์ด


5. เสียบสายพัดลมเข้ากับขั้วจ่าายไฟเลี้ยงเมนบอร์ดที่ตำแหน่ง "CPU FAN"


ขั้นตอนที่ 5
ติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดการติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดทำได้ไม่ยาก แต่มีหลักอยู่ว่าในช่องเสียบแรมชนิดต่างๆ จะมีล็อคอยู่ในตำแหน่งต่างกัน เพื่อป้องกันการเสียบแรมผิดด้านจะทำให้แรมไหม้เสีย ดังนั้นก่อนเสียบแรมทั้งแบบ SDRAM,DDRSDRAM และ RDRAM ควรตรวจดูคันล็อคว่าอยู่ด้านใดและใส่แรมให้ถูกด้าน โดยมีขั้นตอนดังนี้


1. หาตำแหน่งสล็อตเสียบแรมบนเมนบอร์ด และเตรียมแรมให้พร้อม


2. หันแรมให้ถูกด้านโดยให้รอยบากบนตัวแรม ตรงกับคันล็อคบนสล็อตเมนบอร์ด ให้ตรวจดูให้ดีว่าสล็อตเมนบอร์ดใช้แรมที่เรามีอยู่ได้หรือไม่


3.ดันแรมลงไปตรงๆ จนสุด ซึ่งสังเกตได้ว่าแขนล็อคแรมได้กระดกกลับมาล็อคปลายแรมทั้งสองข้างพอดี


ขั้นตอนที่ 6
ติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์การติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ค่อนข้างง่ายกว่าติดตั้งอุปกรณ์อื่น เพราะมีสายที่ต้องติดตั้งเพียง 2 เส้นคือ สายไฟและสายสัญญาณ การติดตั้งสายไฟจะมีหัวล็อคอยู่ถ้าไม่พอดีอย่าฝืนดันเข้าไปส่วนสายสัญญาณก็ให้เสียบขาที่ 1 ให้ตรงกับฟล็อบปี้ดิสก์ในการสังเกต คือ เมื่อเสียบสายทั้ง 2 เส้นเข้ากับฟล็อบปี้ดิสก์แล้วสายไฟเส้นสีแดง และสาาายสัญญาณด้านที่มีสีแดงต้องอยู่ชิดกัน มีขั้นตอนดังนี้
1. ใส่ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง ( Drive Bay ) และดันเข้าไปให้สุด
2. ใช้ไขควงขันน๊อตยึดฟล็อบปี้ดิสก์เข้ากับช่องเคส
3.เสียบสายจ่ายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณเข้ากับไดรว์ให้ถูกต้อง
4.เสียบสายสัญญาณอีกด้านเข้ากับช่องเสียบบนเมนบอร์ด โดยให้ด้านที่มีสายสีแดงตรงกับขา 1 บนเมนบอร์ด


ขั้นตอนที่ 7
ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ก่อนการติดตั้งวฮาร์ดดิสก์เข้าเครื่อง ให้กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ก่อนโดยถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับติดตั้ง และบู๊ตระบบต้องกำหนดให้เป็น"Master" อย่างเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ลูกที่ 2 ที่ติดตั้งบนสายเส้นเดียวกันก็ให้กำหนดเป็น "slave" และให้ติดตั้งสาย 2 เส้นเช่นเดียวกันกับฟล็อบปี้ดิสก์ คือสายจ่ายไฟ และสายสัญญาณให้เสียบให้ถูกด้านโดยสายจ่ายไฟมีรอยหักมุมบน ส่วนสัญญาณให้สังเกตขา
1 เป็นหลักโดยมีตัวเลขกำกับไว้ที่ท้ายไดรว์ ส่วนที่ส่วนตัวสายขา 1 จะมีสีแดง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้1. กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ไว้ที่ตำแหน่ง "Master" เพื่อใช้บู๊ตเครื่อง

2.ใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องใส่ไดรว์ในเคส (Drive Bay) โดยดันเข้าไปให้สุด และขยับให้ช่องขันน๊อตของตัวไดรว์ตรงกับรูยึดด้านข้างของตัวเคส


3. ขันน๊อตยึดฮาร์ดดิสก์เข้ากับผนังเคส โดยขันให้ครบทั้ง 2 ด้าน


4.เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าที่ท้ายฮาร์ดดิสก์โดยให้สายจ่ายไฟด้านที่มีรอยหักมุมอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้ด้านที่มีเส้นสีแดงชิดกับสายจ่ายไฟ


5.นำปลายอีกด้านของสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องต่อบนเมนบอร์ด โดยให้เส้นสีแดงอยู่ตรงขา 1 บนเมนบอร์ดโดยจะมีตัวเลข 1 กำกับอยู่























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น